วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

Candle Stick Modified #3 : ปฐมบท Candle Stick

เมื่อแรกเดินผ่าน....
ความรู้สึกครั้งแรกๆ ที่ได้ยิน เรื่อง Technical Analyst, Candle Stick Graph.... นึกไปถึง คนใบ้หวย ที่สนามหลวง.... ที่พยายาม.... หาความสัมพันธ์ ของ ตัวเลข ที่ออกมาในแต่ละงวด..... ซึ่งในทางคณิตศาสตร์ ถ้า การออกรางวัลล็อตตารี่ มันไม่ถูก Lock.... ตัวเลขที่ออกมาแต่ละ งวด มันไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ต่อกัน.... นั้น คือ มันไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน .... (แม้เด็ดดอกไม้ จะสะเทือนทั้งดวงดาว ก็เหอะ...)


( จะว่าไปแล้ว .... เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นมา มันเป็นผลมาจาก เหตุ & ปัจจัย ที่ส่งผลสืบเนื่อง.... ต่อๆ กันมาๆ ไอ้ครั้นจะบอกว่า เลขล็อตตารี ที่ออกมาใน งวดนี้ ไม่มีเกี่ยวข้องกับ ผลของเลขล็อตตารี ที่ออกมาในงวดที่แล้ว มันก็คงไม่ถูกทั้งหมด  สรุปเป็นว่า ไอ้ความเกี่ยวข้องกันนั้น มันไม่มีนัยยะ มากพอที่จะบอกว่า มันเกี่ยวข้องกัน  สรุปว่า มันไม่เกียวข้องกัน..... )



เริ่มหันมามอง....
แต่ เมื่อเริ่มศึกษา.... เริ่มเห็น "ความสวยงาม" ของ Graph Candle Stick...

เจ้า Graph Candle Stick สามารถ สะท้อน ความรู้สึก & อารมณ์ ของ นักลงทุน ใน ตลาด ในเราเห็นได้ง่ายขึ้นกว่า การดูตัวเลข ราคาหุ้น ในตาราง..... เน้นอีกครั้งว่า ใช้เพื่อ "สะท้อน ความรู้สึก & อารมณ์ ของ นักลงทุน ใน ตลาด"

(สะท้อนยังไง เดียวจะอธิบายด้วย รูปภาพ... )

อมตะ วาจา.... ประโยคหนึ่งของ Warrant Buffet นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ คือ "จงกล้าในขณะที่คนส่วนใหญ่กลัว และ จงกลัวในขณะที่คนส่วนใหญ่กล้า"....

เริ่มเห็นประโยชน์ ของ เจ้า Graph Candle Stick ไหมครับ....

Candle Stick หรือ กราฟแท่งเทียน ถูกเริ่มต้นใช้ โดย พ่อค้าชาวญี่ปุ่น ในการซื้อขายข้าว ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตั้งแต่ ปี ค.ศ 1654 <---- จะบอกว่า มันถูกใช้งานมานานกว่า สามร้อยห้าสิบกว่า ปีมาแล้ว....


(จบแหละ จบห้วนๆ แบบนี้แหละ @^____^@ )

2554-03-20 @ บ้าน นนทบุรี


ขยายความ....

ในแต่ละช่วงเวลาที่เราต้องการพิจารณา เราต้องมี ข้อมูล 4 อันนี้จึงจะสามารถ เขียน กราฟแท่งเทียน แต่ละแท่งได้.... เพื่อดูอารมณ์ของตลาด ณ ช่วงเวลานั้นได้
    1) ราคาสูงสุด
    2) ราคาต่ำสุด
    3) ราคาเปิด
    4) ราคาปิด


 โครงสร้าง ของ กราฟแท่งเทียน แต่ละแท่ง....




















ราคาเปิดตลาด > ราคาปิดตลาด (ราคาหุ้นลดต่ำลง)....





















ราคาเปิดตลาด < ราคาปิดตลาด (ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น)....





















ราคาเปิดตลาด = ราคาปิดตลาด (ราคาหุ้นเท่าเดิม).... 


Candle Stick สะท้อน อารมณ์ คนใน ตลาด....


ตัวอย่าง.... รูปแบบ Hammer สะท้อนอารมณ์ตลาด... หุ้นตก ลงมาเรื่อย... วันล่าสุด... พวกที่ขายก็พยายามจะขาย แต่มีแรงรับซื้อ มารับไว้ จน ราคา ปิด สูงกว่า ราคาเปิด....  ----> เป็นสัญญาณว่า ราคาหุ้นตกลงมา ใกล้ ถึง จุดต่ำสุด แล้ว...    ใกล้ถึง จุดที่เราควรจะเข้าซื้อแล้ว      (Click ดูคำแนะนำดีๆ ในการซื้อขายหุ้น)

( หนึ่งในเงื่อนไข ของการเป็น รูปแบบ Hammer  ---->  ไม่มี Upper Shadow...., ความยาว Lower Shadow  มากกว่า ความยาว Body อย่างน้อย 2 เท่า..., Body เป็น สีเขียว หรือ สีแดง ก็ได้   (ยังมี รูปแบบอื่นๆ ที่เข้าข่ายเป็น รูปแบบ Hammer อีกน่ะ ลองไปหาๆ ดู <----- มาเขียนเกริ่นๆ กระตุ้นให้อยาก(เรียนรู้) แล้วก็จากไป.... :P  )

ตัวอย่าง จริงๆ....
โปรแกรม qtstalker Version 0.32 ทำงานบน UBunTu
ตัวอย่าง จริง ดู ราคาหุ้น STA ช่วงสัปดาห์ที่เกิด สึนามิ.... (STA ผลิต ยางแผ่นรมควัน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของ อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ ---> เกิดแผ่นดินไหว & สึนามิ @ ญี่ปุ่น ----> กระทบธุรกิจรถยนต์ ----> เปิดทำการวันแรก... ราคายางพารา ใน ตลาดซื้อขายล่วงหน้า Tocom ล่วงต่ำลง จนตลาดต้องใช้ Circuit Breaker -----> STA ราคาลดต่ำลง...

คำถาม คือ ราคาที่ลดลงเรื่อยๆ นี้ มันต่ำพอที่เราจะเข้าซื้อหรือยัง .... ต่ำแล้ว อาจจะต่ำได้อีก.... 
Candle Stick พอจะช่วย ตอบคำถามว่า   "ผู้คน ใน ตลาด มองว่า ราคามัน ต่ำแล้ว มากพอที่จะเข้าซื้อแล้ว หรือยัง" 

ป.ล #1 ระวัง!!!  ผม ไม่ได้บอกว่า ราคา ณ จุดนั้น มันเหมาะสม หรือไม่ ในแง่ ธุรกิจ ในแง่การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI - Value Investor)   <------  อันนี้ต้องใช้ Fundamental Analysis วิเคราะห์ เอา.... วิเคราะห์เองไม่เป็น ก็ไปหาอ่านได้ใน SAA Consensus ใน Web Site : www.settrade.com ครับ


ป.ล #2 ใช้ หลักการของ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก มาประยุกต์ใช้ ----->  Parameter ตัวหนึ่งที่จะช่วยบอกเราว่า กราฟแท่งเทียน แท่งนั้น น่าเชื่อถือหรือไม่ ก็ คือ ปริมาณซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง (Volume)
                 - ปริมาณซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง   เยอะๆ  -----> น่าเชื่อ
                 - ปริมาณซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง   น้อยๆ  -----> ไม่น่าเชื่อ
   

2554-04-19 @ บ้าน นนทบุรี 


ตัวอย่าง การตีความ อารมณ์ของตลาด จาก Candle Stick

ภาพ จาก รายการ หุ้นโค้งสุดท้าย ช่วง "ซื้อ - ขายเมื่อไหร่ ใช้สัญญาณเทคนิคช่วย"

แท่งซ้ายสุด ตลาดอารมณ์ดีสุด  แท่งถัดมาก็ อารมณ์ดี ลดน้อย ลงมา....
     แท่งซ้ายสุด ----> ราคาเปิด = ราคาต่ำ สุด แล้ว ราคาก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ   ทุกคนอยากได้ หุ้น แม้ว่า ราคาหุ้น จะสูงขึ้นไปเรื่อย.... จนกระทั่ง ราคาซื้อขาย สุดท้าย ตอนปิดตลาด คือ ราคาสูงสุด ของวันนั้น  

    แท่งถัดมาจาก แท่งซ้ายสุด ---->  หลังจาก ตลาดเปิด  มีนักลงทุนบางส่วนเทขาย (จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่) ทำให้ ราคาตกลงมา แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ คิดว่า ราคาหุ้นมัน ควรค่าแก่การเข้าไปซื้อ .... จึงไล่ซื้อขึ้นไป....  จนกระทั่ง ราคาซื้อขาย สุดท้าย ตอนปิดตลาด คือ ราคาสูงสุด ของวันนั้น

   แท่งถัดมาอีก ----> หลังจาก ตลาดเปิด  ราคาขึ้นไป จนถึงราคาสูงสุด แล้วตกลง มาที่ ราคาปิด

   แท่งขวาสุด ----> ราคาผันผวน.... แต่ยังดีที่ สุดท้าย ราคาเปิด > ราคาปิด


ภาพ จาก รายการ หุ้นโค้งสุดท้าย ช่วง "ซื้อ - ขายเมื่อไหร่ ใช้สัญญาณเทคนิคช่วย"

แท่งด้านซ้าย อารมณ์ ดีกว่า แท่งด้านขวา





ภาพ จาก รายการ หุ้นโค้งสุดท้าย ช่วง "ซื้อ - ขายเมื่อไหร่ ใช้สัญญาณเทคนิคช่วย"
แท่งด้านซ้าย อารมณ์ ดีกว่า แท่งด้านขวา




ภาพ จาก รายการ หุ้นโค้งสุดท้าย ช่วง "ซื้อ - ขายเมื่อไหร่ ใช้สัญญาณเทคนิคช่วย"

ภาพ นี้ สุดยอด ของคำอธิบาย แล้วแหละ....  สำหรับ การตีความ อารมณ์ของตลาด ของ แท่งเทียนเดียวๆ....  (แต่ยังไม่จบ เท่านี้น่ะ....  ยังมีการนำ แท่งเทียน มากกว่า 1 แท่งมากประกอบกัน แต่ตีความหมายอีก น่ะ....)


2554-04-23 @ Wall Street  <--- สอนภาษาอังกฤษ (ไม่ใช่ ตลาดหุ้น NewYork น่ะ สถาบันสอนภาษาปะกิต.... ไม่ได้มาเรียน.... มานั่งรอแฟนเรียน ภาษาปะกิต )





รวม Link Web Site ที่สอนเรื่อง  Pattern ต่างๆ ของ Candle Stick






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

เพราะ ชีวิต คือ การลองผิด ลองถูก อย่างมี สติ + สัมปชัญญะ.... Trial & Error